ผู้ป่วยโควิด-19 ส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรงอาจไม่จำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาที่โรงพยาบาล หรืออยู่โรงพยาบาลเพียงระยะสั้นๆ แล้วไปพักฟื้นต่อที่บ้านหรือสถานพักฟื้น ซึ่งผู้ป่วยที่มีอาการน้อยนี้ ส่วนใหญ่จะค่อยๆดีขึ้นจนหายสนิท อย่างไรก็ตามในช่วงปลาสัปดาห์แรก ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการมากขึ้นได้ ผู้ป่วยควรสังเกตอาการตนเอง เมื่อไม่แน่ใจสามารถโทรศัพท์ปรึกษา หรือเข้าไปรับการตรวจประเมินได้โดยติดต่อไปยังโรงพยาบาลก่อน จะทำให้ได้รับการดูแลรักษาที่เหมาะสมได้
ข่าวสถานการณ์ covid-19 จ.กระบี่
คำแนะนำการปฏิบัติการแยกตัวที่บ้าน (Home Isolation) สำหรับผู้ป่วยโควิด – 19 (COVID – 19) จาก กลุ่มงานสุขศึกษา โรงพยาบาลกระบี่
ผู้ป่วยที่มีอาการน้อย หรืออาการดีขึ้นแล้วแต่อาจจะยังมีเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของผู้ป่วยโควิด-19อยู่ในน้้ำมูก น้้ำลายของผู้ป่วยยาวนานอย่างน้อย2 สัปดาห์หลังจากเริ่มป่วย ดังนั้นผู้ที่เป็นโควิด-19ที่ไม่ได้อยู่ในโรงพยาบาล จึงจำเป็นต้องแยกตัวเองจากผู้อื่นขณะอยู่ที่บ้านเป็นเวลาอย่างน้อย 14 วันนับตั้งแต่วันที่เริ่มป่วย เพื่อลดการแพร่เชื้อให้ผู้อื่น เช่น เริ่มป่วยวันที่ 1 มีนาคม เข้าโรงพยาบาลวันที่ 3 มีนาคม ออกจากโรงพยาบาลกลับบ้านวันที่ 9 มีนาคม ควรแยกตัวอยู่บ้านอย่างน้อยถึงวันที่ 15 มีนาคม เป็นต้น หลังจากนั้นอาจไม่
ต้องแยกตัวเองแต่แนะน าให้สวมหน้ากากอนามัยและระมัดระวังสุขอนามัยส่วนบุคคลเป็นพิเศษต่อจนครบ1 เดือน
ลักษณะของบ้านพักอาศัยที่เหมาะสมบ้านหรือที่พักอาศัยของผู้เป็นโควิด-19 ในช่วงที่ต้องแยกตัว ควรจะต้องมีลักษณะดังนี้มิฉะนั้นอาจต้องหาสถานที่อื่นที่เหมาะสม
● มีผู้จัดหาอาหารและของใช้จำเป็นให้ได้ไม่ต้องออกไปจัดหานอกบ้านด้วยตนเอง
● อยู่อาศัยตามลำพังหรือร่วมกับผู้อื่นโดยมีห้องส่วนตัว
● ผู้ที่อยู่อาศัยร่วมบ้านสามารถปฏิบัติตามคำแนะนำเรื่องสุขอนามัยและการแยกจากผู้ป่วยได้
● สามารถติดต่อกับโรงพยาบาลได้และเดินทางมาโรงพยาบาลได้สะดวก
1. ไม่ให้บุคคลอื่นมาเยี่ยมที่บ้านระหว่างแยกตัว
2. ถูมือด้วยแอลกอฮอล์เจลหรือล้างมือด้วยสบู่และน้ำเป็นประจำ (หากมือเปรอะเปื้อนให้ล้างด้วยสบู่และน้ า) โดยเฉพาะภายหลังสัมผัสน้ ามูก น้ าลาย เสมหะขณะไอ จาม หรือหลังจากถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระและก่อนสัมผัสจุดเสี่ยงที่มีผู้อื่นในบ้านใช้ร่วมกัน เช่น ลูกบิดประตูราวบันได มือจับตู้เย็นฯลฯ
3. อยู่ในห้องส่วนตัวตลอดเวลา หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับบุคคลอื่นในที่พักอาศัย โดยเฉพาะผู้สูงอายุเด็กเล็ก ผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่างๆ หากยังมีอาการไอจามต้องสวมหน้ากากอนามัยแม้ขณะที่อยู่ในห้องส่วนตัว
4. หากจำเป็นต้องเข้าใกล้ผู้อื่นต้องสวมหน้ากากอนามัยและอยู่ห่างอย่างน้อย 1 เมตร หรือประมาณหนึ่งช่วงแขน(ยกเว้นในกรณีที่เป็นมารดาให้นมบุตรยังสามารถให้นมบุตรได้ เนื่องจากไม่พบเชื้อในน้ำนมแต่มารดาควรสวมหน้ากากอนามัยและล้างมืออย่างเคร่งครัดทุกครั้งก่อนสัมผัสหรือให้นมบุตร) หากไอจามไม่ควรเข้าใกล้ผู้อื่นหรืออยู่ห่างอย่างน้อย 2 เมตร
5. หากไอ จามขณะที่สวมหน้ากากอนามัยอยู่ไม่ต้องเอามือมาปิดปากโดยไม่ต้องถอดหน้ากากอนามัยออกเนื่องจากมืออาจเปรอะเปื้อน หากไอจามขณะที่ไม่ได้สวมหน้ากากอนามัยให้ใช้ต้นแขนด้านในหรือศอกปิดปากและจมูก
6. ใช้ห้องน้ าแยกจากผู้อื่น หากจำเป็นต้องใช้ห้องน้ าร่วมกัน ให้ใช้เป็นคนสุดท้าย ให้ปิดฝาชักโครกก่อนกดน้ า ควรท าความสะอาดโถส้วมสุขภัณฑ์หรือพื้นที่ที่อาจปนเปื้อนเสมหะ น้ำมูก อุจจาระ ปัสสาวะหรือสารคัดหลั่งด้วยน้ำและน้ำยาฟอกผ้าขาวโซเดียมไฮโปคลอไรต์5% (เช่น ไฮเตอร์คลอรอกซ์) เข้มข้น 5,000 ส่วนต่อล้านส่วน หรือ 0.5% (ผสมน้ำยาฟอกขาว 1 ส่วนต่อน้ า 9 ส่วน)
7. แยกสิ่งของส่วนตัว ไม่ใช้ร่วมกับผู้อื่น เช่นจาน ช้อนส้อม แก้วน้ำ ผ้าเช็ดตัว โทรศัพท์คอมพิวเตอร์
8. ไม่ร่วมรับประทานอาหารกับผู้อื่นถ้ารับอาหารจากนอกบ้านหรือเตรียมอาหารในบ้านบริเวณที่มีผู้อื่นอยู่ ควรให้ผู้อื่นจัดหามาให้ แล้วแยกรับประทานคนเดียว
9. ซักเสื้อผ้า ผ้าปูเตียง ผ้าขนหนูฯลฯ ด้วยน้ำและสบู่หรือผงซักฟอกถ้าทำได้หากใช้เครื่องซักผ้าให้ซักด้วยน้ำร้อนที่อุณหภูมิน้ำ 60-90 องศาเซลเซียสร่วมกับผงซักฟอกหรือน้ำยาซักผ้า
10. แยกถุงขยะของตนต่างหาก ขยะทั่วไปให้ทิ้งลงถุงได้ทันทีขยะที่อาจปนเปื้อนเสมหะ น้ ามูก สารคัดหลั่งอื่น ๆ เช่น หน้ากากอนามัย กระดาษทิชชูฯ ลฯ ให้ทิ้งในถุงพลาสติก เทน้ำยาฟอกผ้าขาว โซเดียมไฮโปคลอไรต์เข้มข้น 500 ส่วนต่อล้านส่วนหรือ 0.05% (น้ำยาฟอกขาว 1 ส่วนต่อน้ำ 99 ส่วน) ลงในถุงเพื่อฆ่าเชื้อก่อนแล้วผูกปากถุงให้สนิทก่อนทิ้งรวมกับขยะทั่วไปหลังจากนั้นต้องล้างมือด้วยน้ าและสบู่ทุกครั้ง
11. นอนพักผ่อนให้เพียงพอ ในห้องที่อากาศไม่เย็นเกินไปและมีอากาศถ่ายเทสะดวก ดื่มน้ าสะอาดให้เพียงพอ งดดื่มน้ าเย็นจัด พยายามรับประทานอาหารให้ครบถ้วนตามหลักโภชนาการ
12. ไม่ไปในที่สาธารณะ ไม่ไปสถานศึกษาหรือที่ทำงานจนกว่าจะครบกำหนดการแยกตัวข้างต้น
13. ระหว่างการแยกตัว ทำความสะอาดบริเวณพื้นที่ที่ผู้ป่วยพักหรือจับต้องและเครื่องเรือนเครื่องใช้เช่น เตียง โต๊ะ เก้าอี้ โทรศัพท์บ้าน ฯลฯ ด้วยน้ำและผงซักฟอกอย่างเหมาะสมกับวัสดุอุปกรณ์เป็นประจำภายหลังครบกำหนดการแยกตัวข้างต้น ให้ทำความสะอาดให้ทั่วถึงที่สุดเท่าที่ทำได้ด้วยน้ำยาฟอกผ้าขาวโซเดียมไฮโปคลอไรต์เข้มข้น 0.05% ข้างต้นการปฏิบัติของผู้อาศัยร่วมบ้านผู้ที่อาศัยร่วมบ้านควรแยกตัวจากผู้ป่วยปฏิบัติตามสุขอนามัยที่ดีและหมั่นล้างมือเป็นประจำ ควรเข้าใจให้กำลังใจและให้การสนับสนุนช่วยเหลือให้ผู้ป่วยหรือผู้ที่ต้องแยกตัวสามารถปฏิบัติตามค าแนะน าได้อย่างเคร่งครัดจนครบกำหนด
*หากมีอาการป่วยเกิดขึ้นใหม่หรืออาการเดิมมากขึ้น เช่น ไข้สูง ไอมาก เหนื่อย แน่นหน้าอก หอบหายใจไม่สะดวก เบื่ออาหาร ให้รีบโทรศัพท์ติดต่อเพื่อมาโรงพยาบาลเพราะโรคนี้อาจมีอาการรุนแรงมากขึ้ในช่วงสัปดาห์ที่ 2 ได้การเดินทางมาโรงพยาบาลไม่ใช้รถหรือเรือสาธารณะ ให้ใช้รถยนต์ส่วนตัวและให้เปิดหน้าต่างรถยนต์ไว้เสมอหรือขอรถ
ที่มา : กลุ่มงานสุขศึกษาโรงพยาบาลกระบี่